top of page

ทำความรู้จักกับ กรดไนตริก

  • amatapassivation
  • 17 ส.ค. 2567
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 14 ก.พ.

สวัสดีค่ะ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ กรดไนตริก เป็นสารเคมีชนิดหนึ่ง ที่นิยมนำมาทำการ PASSIVATION บนพื้นผิวสแตนเลส เจ้ากรดตัวนี้มันคืออะไร มีคุณสมบัติอย่างไร อ่านต่อในบทความนี้ได้เลยค่า

.

กรดไนตริก (Nitric acid) หรือ ที่ผู้คนทั่วไปเรียกว่า กรดดินประสิว เป็นกรดที่เกิดจากการสังเคราะห์ขึ้นเมื่อประมาณ ค.ศ. 800 ค้นพบโดย อบูมูซา จาบิร อิบนุฮัยยาน (Abu Musa Jabir Ibn Hayyan) หรือ จีเบอร์ (Geber) นักเคมีและนักฟิสิกส์ ชาวมุสลิม บิดาแห่งวิชาเคมี กรดไนตริกบริสุทธ์ 100% จะมีลักษณะเป็นของเหลว โดยปราศจากน้ำเจือปน จะเป็นของเหลวที่มีความหนาแน่นอยู่ที่ 1,552 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร และจะเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิ -42 °C ลูกบาศก์ ออกมาในรูปของผลึกสีขาว และมีจุดเดือดอยู่ที่อุณหภูมิ 83 °C และยังสามารถเดือดได้ในอุณหภูมิห้องที่มีแสงสว่างที่มากพอ และจะเกิดปฏิกิริยาการสลายตัวในรูปแบบไนโตรเจนไดออกไซด์ จึงควรเก็บกรดไนตริกไว้ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 0 °C เพื่อกันการสลายตัว

.

กรดไนตริกบริสุทธิ์ จะมีความใส ไม่มีสี แต่เมื่อมีการเก็บไว้เป็นเวลานานจะทำให้กรดมีสีเหลือง เนื่องจากมีส่วนประกอบของ ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) หากกรดมีความเข้มข้นสูงเกินกว่า 86% จะมีไอระเหยของกรดขึ้นมา ไอของกรดที่ระเหยออกมาจะเป็นสีขาว หรืออาจเป็นสีแดงขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น รวมถึงอุณหภูมิด้วย

คุณสมบัติเฉพาะของกรดไนตริก

กรดไนตริกมีคุณสมบัติที่สามารถละลายในน้ำได้ทุกอัตราส่วน ที่ความเข้มข้น 68% และสามารถทำให้ ไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ละลายได้ตามปัจจัยความเข้มข้นของออกไซด์ ความดันไอที่อยู่เหนือของเหลว และอุณหภูมิ ที่จะแสดงออกมาเป็นสีที่แตกต่างกัน

.

แน่นอนว่ากรดไนตริก มีคุณสมบัติเด่นทางกรดอยู่มากกว่า ความเป็นด่าง ซึ่งเมื่อกรดไนตริกทำปฏิกิริยากับด่างออกไซด์พื้นฐาน และคาร์บอเนต จะก่อให้เกิดสารประกอบในรูปของ เกลือ ขึ้น เช่น เมื่อเจอเข้ากับโลหะ กรดไนตริกจะทำปฏิกิริยากับโลหะและได้เกลือซึ่งจะมีสถานะออกซิไดซ์ที่สูงขึ้น โลหะที่เจอกับเกลือจึงเกิดการกัดกร่อนที่รุนแรงต่อกัน ดังนั้นกรดไนตริกจึงสามารถกัดกร่อนวัตถุจำพวกโลหะ และอัลลอยส์ได้

.

ประโยชน์และการใช้กรดไนตริก

ด้านประโยชน์ของกรดไนตริก มีมากมาย ซึ่งมีการนำกรดไนตริกมาประยุกต์ใช้ทั้งกับทางด้านอุตสาหกรรม ภายในกระบวนการผลิตเครื่องอุปโภคต่างๆ ด้านเกษตรกรรม ในการใช้เป็นส่วนผสมของสารสำหรับป้องกัน และกำจัดเชื้อรา หรือปุ๋ย ทางการแพทย์และเภสัชกรรม ในการใช้เป็นส่วนผสมของยาฆ่าเชื้อ และใช้ทางการทหาร เป็นต้น

1.ด้านอุตสาหกรรม นิยมนำมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดชนิดต่างๆ ใช้เป็นสารเร่งปฏิกิริยา ใช้เป็นตัวทำละลาย ตัวทำละลายโลหะโดยเฉพาะเหมืองทองคำ

2.ด้านการเกษตร ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อ และป้องกันเชื้อราในผลผลิตทางการเกษตร

3.ด้านครัวเรือน ใช้สำหรับการฆ่าเชื้อ และล้างทำความสะอาดผักผลไม้ในครัวเรือน

4.ห้องปฏิบัติการ ใช้สำหรับปรับความเป็นกรดของสารละลายตัวอย่าง ใช้สำหรับปรับความเป็นกรดของน้ำตัวอย่างเพื่อช่วยป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์ แพลงก์ตอนพืช ป้องกันการสังเคราะห์แสง และป้องกันการตกตะกอนของโลหะ ละลายโลหะไม่ให้จับจับภาชนะเก็บตัวอย่าง โดยเฉพาะการเก็บตัวอย่างน้ำสำหรับการวิเคราะห์ค่า TKN TP COD และโลหะหนัก

กรดไนตริก ยังสามารถใช้ในการปรับสภาพความเป็นกรด-ด่างของสารละลาย รวมถึงการใช้ปรับความเป็นกรดของคุณภาพน้ำ เพื่อช่วยป้องกันการตกตะกอนของโลหะหนักหรือการเกาะติดของโลหะหนักกับภาชนะ รวมถึงป้องกันการเติบโตของจุลินทรีย์ได้ด้วย

.

อย่างไรก็ตาม คุณสมบัติเด่นของกรดไนตริกคือ ความเป็นกรด ด้วยสามารถในการทำออกซิไดซ์ที่สูงมาก จนเกิดปฏิกิริยาการกัดกร่อนที่รุนแรงต่อวัตถุจำพวกโลหะแทบทุกชนิด ยกเว้นโลหะตระกูลมีค่าจำพวก ทองคำ เงิน เพลตตินั่ม พลาลาเดียม รูธีเนี่ยม โรเดี่ยม ออสเมี่ยม และอิริเดี่ยม ดังนั้นจึงเกิดการใช้ประโยชน์ด้วยการนำกรดไนตริกไปเป็นสารในการทดสอบเพื่อแยกโลหะมีค่าออกจากโลหะอื่นๆ เช่น การนำไปทดสอบ เครื่องประดับทองคำว่า เป็นทองคำแท้หรือไม่ หากเป็นทองคำแท้ กรดไนตริก จะไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ นั่นเอง นอกจากนี้ กรดไนตริกยังถูกนำไปใช้ทดสอบเพื่อการทดลองโปรตีนในอาหารอีกด้วย เพราะกรดไนตริกสามารถทำปฏิกิริยาได้กับทั้งสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์นั่นเอง

.

ข้อควรระวัง

กรดไนตริก ถือเป็นกรดที่เป็นอันตรายชนิดหนึ่ง หากมีการสัมผัส สูดดม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย จะก่อให้เกิดอาการระคายเคืองอย่างรุนแรง ต่อทั้งระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง ดวงตา และระบบอวัยวะภายในร่างกาย จนอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นจึงต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการนำกรดไนตริกมาใช้งาน ควรมีการป้องกันอย่างรัดกุมของร่างกาย รวมไปถึงต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้กรดไนตริกกับสารบางชนิด ที่อาจก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่อันตราย เช่น การระเบิดขึ้นได้ การควบคุมอุณหภูมิขณะใช้งานมีความสำคัญก็เช่นกันค่ะ


Commentaires


ติดต่อขอใบเสนอราคาได้ที่

Line OA : @amata.p

Tel. 083-422-0514

Facebook Page : Amata Automation

ไลน์ออฟฟิศเชี่ยล

สถานที่ตั้งของโรงงาน

อยู่ที่  18/8 หมู่ 12 ต.บึงทองหลาง อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี 12150

โทร.083-422-0514

สำนักงานใหญ่

9/55 ซอยร่มเกล้า 19 ถนนร่มเกล้า แขวงคลองสามประเวศ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร 10520

บริษัท อมตะ พาสซิเวชั่น จำกัด
bottom of page